255 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาระจำยอม กับ ทางจำเป็น ต่างกันยังไง
หลายคนอาจจะเคยได้ยิน คำว่าที่ดินภาระจำยอม, ที่ดินที่ต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน ที่ดินตาบอด, ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ อยู่บ่อยๆ แต่ยังไม่เข้าใจความหมาย ว่าคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะพามาไขข้อสงสัยของภาระจำยอม กับ ทางจำเป็น คืออะไรแล้วแตกต่างกันยังไงไปดูกันค่ะ
>>> โดยทางกฎหมายวางแนวทางแก้ไขไว้ให้เจ้าของที่ดินเหล่านี้แล้ว แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่อง “ภาระจำยอม” กับกฎหมายที่ว่าด้วย “ทางจำเป็น” ซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
ทางภาระจำยอม
>>> หรือเรียกว่า ที่ดินภาระจำยอม, ที่ดินที่ต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน คือ ภาระที่เจ้าของที่ดินผืนหนึ่ง ต้องยอม(รับภาระ)เปิดทาง ให้บุคคลอื่นได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน “ภาระจำยอม” ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดินที่ถูกล้อม และไม่จำเป็นต้องเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเท่านั้น แต่ใช้ออกไปที่ใดก็ได้ และการจด “ภาระจำยอม” ต้องเป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าของที่ดินทั้งสองฝ่าย เป็นลายลักษณ์อักษร และทำการจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
การได้มาซึ่งสิทธิของ “ภาระจำยอม” นั้น มีอยู่ 2 ทาง คือ
1.) ได้มาโดยผลของกฎหมาย เช่น นาย A. ขับรถผ่านที่ดินของเราบนเส้นทางนี้เป็นประจำ เป็นระยะเวลา 10 ปี เช่นนี้แล้ว นาย A. ย่อมได้สิทธิ ภาระจำยอม บนที่ดินของเราทันที
หรืออีกกรณี 1 เช่น นาย A ปลูกบ้าน ล้ำเข้ามาในที่ดินของเรา (คือไม่รู้ว่าที่ดินส่วนนั้นเป็นของเรา แต่เข้าใจว่าเป็นของเขาเองโดยสุจริต) และล้ำเข้ามาไม่มากนัก กรณีนี้ นาย A ย่อมสามารถที่จะได้สิทธิ “ภาระจำยอม” บนที่ดินของเรา โดยที่นาย A ไม่จำเป็นต้องรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำเข้ามา แต่ต้องจ่ายค่าใช้ที่ดินให้แก่เรา
2.)ได้มาโดยทางนิติกรรม เช่น เรามีที่ดินอยู่ 2 แปลง และเราได้แบ่งขายที่ดิน 1 แปลง ให้แก่นาย A โดยมีข้อตกลงว่า นาย A สามารถใช้ทางบนที่ดินของเรา อีกแปลงหนึ่งเป็นทางออกสู่สาธารณะได้ ดังนั้นแล้ว นาย A. ย่อมได้สิทธิ “ภาระจำยอม” บนที่ดินของเรา
ตัวอย่างภาระจำยอม อธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายๆ เช่น เจ้าของที่ดินยอมให้มีทางเดินรถ, ยอมให้มีทางเข้า-ออก, ยอมให้รถวิ่งผ่านได้, ทางน้ำทางเดินเรือ, ยอมให้หลังคาบ้านผู้อื่นล้ำเข้ามาในที่ดินของเรา เป็นต้น
ทางจำเป็น
>>> หรือคนส่วนใหญ่เรียกว่า ที่ดินตาบอด, ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เกิดจากที่ดินที่ถูกล้อมด้วยที่ดินแปลงอื่นจนไม่มีทางออกสู่สาธารณะ หรือ ออกได้ แต่ลำบาก กฎหมายจึงต้องให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดังกล่าว ให้มีสิทธิใช้ทางออกสู่สาธารณะจากที่ดินแปลงอื่นได้ และต้องใช้ทางเพื่อออกไปสู่สาธารณะเท่านั้น แต่ต้องผ่านเพียงเท่าที่จำเป็น และสร้างความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่ให้น้อยที่สุด
การใช้สิทธิ “ทางจำเป็น” ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เหมือนกับ “ภาระจำยอม” เพราะ “ทางจำเป็น” มีสิทธิได้ตามกฎหมายอัตโนมัติ แต่จะต้องใช้สิทธิเท่าที่กฎหมายอนุญาต (เช่น ต้องไม่ให้คนอื่นเสียหาย และต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของที่ดินที่ให้ทำทาง)
ทางจำเป็น การทำทางออก ก็ต้องทำเพียงเท่าที่จำเป็น และต้องส่งผลกระทบต่อที่ดินที่ยอมให้ใช้ “ทางจำเป็น” ให้น้อยที่สุด” และต้องเลือกทำทางออกที่ใกล้ถนนสาธารณะที่สุด เช่น ที่ดินที่ล้อมที่ดินตาบอดอยู่ทางทิศใต้ ระยะทางสู่ถนนสาธารณะ 1 กิโลเมตร ซึ่งจะใกล้ที่สุด แต่สามารถออกจากบ้านทางทิศเหนือได้ เราจะประหยัดเวลาเดินทางได้มาก แต่ ระยะทางสู่ถนนสาธารณะ คือ 2 กิโลเมตร เช่นนี้แล้ว เราจำเป็นต้องทำทางออกทางทิศใต้เท่านั้น และการใช้ “ทางจำเป็น” นั้น ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าทดแทน ให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมเราอยู่ด้วย อยู่ที่ตกลงกัน และ เมื่อไหร่ก็ตามที่ ที่ดินตาบอดของเรามีทางออกสู่สาธารณะแล้ว เราก็หมดสิทธิใช้ “ทางจำเป็น” บนที่ดินผู้อื่นต่อไป
ขอบคุณแหละข้อมูลจาก
กรมที่ดิน >> https://www.dol.go.th/registry/DocLib23/article19.pdf
DDproperty >>https://bityl.co/Pr3Y
checkraka >> https://bityl.co/Pr3B
บริษัท พอดี แอสเซท โซลูชันส์ จำกัด
รับฝากขาย บ้าน ที่ดิน อสังหาฯ ฟรีค่าการตลาด
พร้อมยื่นกู้ทุกธนาคาร ดูแลงานจนจบ ครบวงจร
LINE : @pordeeasset
Call Center : 02-430-0092, 099-397-9695
Facebook : Pordee Asset
Website : www.pordeeasset.com
#ภาระจำยอม #ทางจำเป็น #ที่ดินตาบอด #ที่ดินภาระจำยอม #ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ #ทางเข้าออก #เปิดทาง #PordeeAsset #พอดีแอสเซท #อยากขายบ้าน #ฝากขายบ้าน #ตัวแทนขายบ้าน #นายหน้าขายบ้าน #บ้านมือสอง #ขายบ้านเดี่ยว #ขายบ้านแฝด #ขายทาวน์เฮ้าส์ #ขายทาวน์โฮม #ขายคอนโด #ขายที่ดิน #ขายอสังหา #ลดค่าโอน #กู้ซื้อบ้าน