ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567

181 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567

ปีนี้กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเวลาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี 2567 ออกไปอีก 2 เดือน แล้วภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567 ต้องแจ้งเมื่อไร จ่ายตอนไหน ผ่อนอย่างไร และเตือนแบบใดได้บ้าง

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนมกราคม 2567 จากเดิมภายในเดือนพฤศจิกายน 2566

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และอัตราภาษีที่จัดเก็บก่อน 1 เมษายน 2567 จากเดิมจะต้องก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2567

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งการประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2567 จากเดิมจะต้องเป็นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567

4. ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีตามแบบแจ้งการประเมินภาษีภายในเดือนมิถุนายน 2567 จากเดิมจะต้องจ่ายภาษีภายในเดือนเมษายน 2567

5. ผู้เสียภาษีสามารถผ่อนชำระภาษีที่ดินฯ ได้ 3 งวดด้วยกัน ดังนี้
- งวดที่ 1 ชำระภายในเดือนมิถุนายน 2567 จากเดิมภายในเดือนเมษายน 2567
- งวดที่ 2 ชำระภายในเดือนกรกฎาคม 2567 จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2567
- งวดที่ 3 ชำระภายในเดือนสิงหาคม 2567 จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2567

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องออกหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่มีภาษีค้างชำระภายในเดือนกรกฎาคม 2567 จากเดิมภายในพฤษภาคม 2567

7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้สำนักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขาภายในเดือนสิงหาคม 2567 จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2567

ใครมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีที่ดิน

1. เจ้าของที่ดิน/เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง/เจ้าของห้องชุด ที่มีชื่อในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ

2. ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุอยู่ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่นั้น ๆ แต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้

3. ผู้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ยกตัวอย่างเช่น
– ซื้อบ้านในวันที่ 10 เมษายน 2566 จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567 เพราะถือว่าได้ครอบครองภายในวันที่ 1 มกราคม 2567
– ซื้อบ้านในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567 เนื่องจากยังไม่ได้ครอบครองภายในวันที่ 1 มกราคม 2567 แต่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2568

4. หากเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นไม่ใช่คนเดียวกัน ให้ต่างคนต่างเสียภาษีเฉพาะส่วนที่ตัวเองเป็นเจ้าของ

5. กรณีมีผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 1 คนขึ้นไป ทุกคนจะต้องรับผิดชอบภาษีดังกล่าวร่วมกัน

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567 ต้องเสียภาษีเท่าไร
กระทรวงมหาดไทย จะเก็บอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567 โดยจะไม่มีการลดหย่อน เก็บเติม 100 % โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ที่ดินเพื่อการทำเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการทำเกษตรกรรมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยกำหนด ไม่ว่าจะทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และกิจการอื่น ๆ ตามที่กำหนด จะจัดเก็บในอัตรา 0.01-0.1% และมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15% 
หากเป็นบุคคลธรรมดาและมีที่ดินเพื่อการเกษตรมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หากเกินก็จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรก แต่หากเป็นนิติบุคคลก็จะเสียตามอัตราปกติครับ

2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
ที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยจะแบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกัย โดยจะจัดเก็บในอัตรา 0.02-0.1% และมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.30%

- บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น จะได้รับยกเว้นภาษี แต่ถ้าเกินจะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรกเท่านั้น ส่วนที่เกินจะเสียภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้
- บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน แต่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก แต่หากเกิน ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตราที่กำหนด
- บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป ตั้งแต่หลังที่สองจะต้องเสียภาษีที่ดินฯ ตามอัตราที่กำหนด โดยไม่ได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินฯ แบบบ้านหลังหลัก

3. ที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์อื่น
ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย แต่เป็นการใช้ประโยชน์อื่น เช่น การพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม โรงแรม หอพัก บ้านเช่า ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น จะจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ในอัตรา 0.3-0.7% โดยมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.20%

4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์
ที่ดินที่ปล่อยให้รกร้าง ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ จะมีจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ในอัตรา 0.3-0.7% เท่ากับใช้ประโยชน์อื่น แต่ความแตกต่างอยู่ที่หากปล่อยให้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างรกร้างนาน 3 ปีติดต่อกัน ในปีที่ 4 จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 0.3% ในทุก ๆ 3 ปีจากอัตราภาษีที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกากำหนด แต่เพดานภาษีสูงสุดจะต้องไม่เกิน 3%

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

Thinkofliving >>> https://bityl.co/Peu8
DDproperty >>>  https://bityl.co/Peui

บริษัท พอดี แอสเซท โซลูชันส์ จำกัด
รับฝากขาย บ้าน ที่ดิน อสังหาฯ ฟรีค่าการตลาด
พร้อมยื่นกู้ทุกธนาคาร ดูแลงานจนจบ ครบวงจร
LINE : @pordeeasset
Call Center : 02-430-0092, 099-397-9695
Facebook : Pordee Asset
Website : www.pordeeasset.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้